จุดที่ 1 CAFE AUX FLOURISH – FLEUR
Concept
Cafe de fleur คาเฟ่ดอกไม้ เป็นร้านกาแฟสองชั้นขนาดเล็กน่ารัก นอกจากการประดับตกแต่งด้วยดอกไม้แล้ว คาเฟ่แห่งนี้ยังพิถีพิถันในเมนู ด้วยการใส่คอนเซ็ป de fleur ลงไปในเมนูต่าง ๆ เช่นกาแฟ cold brew อีกด้วย จึงอยากออกแบบเพื่อเน้นความเป็น de fleur ของร้าน
โดยเริ่มจากด้านหน้าร้าน ซึ่งฝั่งตรงข้ามเป็นร้านกรอบรูป จึงออกแบบจุดถ่ายรูปหน้าร้านโดยใช้กรอบรูปไม้แบบวินเทจ ซึ่งพบในชุมชนหัวตะเข้ทั่วไป เป็นจุดถ่ายรูปหลักหน้าร้าน ภายในร้านใช้ตู้กระจกแอนทีคซึ่งร้านมีอยู่แล้ว ออกแบบโดยให้รู้สึกเหมือนกับมีดอกเฟื่องฟ้าล้นทะลักมาจากภายในตู้ลงมาที่โต๊ะด้านหน้า และเชื่อมต่อกับชานบันไดด้านข้าง เพื่อสามารถถ่ายรูปได้ทั้งสองฝั่ง ทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อผลงาน Cafe aux Flourish – Fleur
Material
Old frame
Artificial flowers
Design By Pratanpon Chotenuku
Location : Cafe aux fleurs
จุดที่ 2 HOW TO HUG
Concept
ความงามบางครั้งก็ซ่อนตัวอยู่ในสถานที่ที่คนส่วนใหญ่คิดไม่ถึง เรือไม้ลำใหญ่พอประมาณจอดนิ่งในสภาพหลังคาที่ผ่านการใช้งานท่ามกลางแดดฝนมาจนไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าเธออยู่แบบนี้มานานแค่ไหน ทันทีที่ผมเจอเธอ
ผมอยากให้เธอกลับมามีรอยยิ้มอีกครั้งหลังจากการลอยเอื่อยไปมาตามภาระหน้าที่ที่เคยเป็นอยู่ ถ้าเธอได้หอบดอกไม้ไว้เต็มลำเธอต้องชอบ เพราะคนที่เข้ามานั่งในอ้อมกอดดอกไม้จะรับรู้ถึงความสวยงามและความสดชื่นที่ชุกซ่อนอยู่ใต้หลังคาผุเก่าของเธอ ความทรงจำในการนั่งเรือของผู้มาเยือนในครั้งนี้ก็จะไม่เหมือนที่ผ่านมา เพราะทุกคนจะจากไปพร้อมกับภาพรอยยิ้มในอ้อมกอดเธอ
Material
Artificial flowers
Old wooden boat
Design By Joe Rainforest
Location : สี่แยกหัวตะเข้ คาเฟ่ แอนด์ เกสท์เฮ้าส์
จุดที่ 3 WAVELETS
Concept
ความคลาสสิกที่ผสมผสานไปกับวิถีชีวิตริมน้ำของผู้คนชุมชนตะเข้ นำมากลายเป็นแรงบันดาลสร้างสรรค์ โดยใช้การเคลื่อนไหว ไหลเวียนอย่างไม่หยุดนิ่งของสายธาร ผ่านรูปแบบ Installation art ฟอร์มคลื่นเกลียวน้ำ ด้วยเทคนิคการ Hanging ดอกจานแก้วและกลีบดอกไม้ผ้าคล้ายผักตบชวา (Water Hyacinths) ในสีสันโทนเย็นอย่างสีฟ้า และสีครามอมม่วง
Technique
Hanging
Material
Artificial flowers
Spray paint colors
Design By Rungnapha Nooput
Location : บ้านหนังสือชุมชน หลวงพรต – ท่านเลี่ยม
จุดที่ 4 274 COLOR PALETTE
Concept
ร้าน 274 Bed and brew ที่ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดหัวตะเข้ เปิดเป็นร้านกาแฟและโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากเข้ามาพักผ่อนในชุมชนหัวตะเข้ อาคารตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 274 เป็นตัวเลขที่ทางร้านได้นำมาตั้งเป็นชื่อร้าน ซึ่งมีความน่าสนใจเราจึงดึงตัวเลขนี้มาร่วมในการออกแบบ
บรรยากาศและวัสดุภายในร้าน ใช้วัสดุที่หาได้ในชุมชน เน้นเป็นโทนสีน้ำตาลไม้ เพื่อเพิ่มความโดดเด่นและสีสันให้กับบรรยากาศร้าน เราจึงนำ Color palette เข้ามาใช้ในการออกแบบ โดย Hanging ดอกไม้หลากหลายชนิด 274 ดอก และเส้นไหมที่สะบัดไปมาคล้ายปลายพู่กัน ตามสีชนิดของดอกไม้ในแต่ละโทนสี เพื่อความน่าสนใจและสีที่สะดุดตาคนที่เดินไปมา จะต้องไม่พลาดที่จะถ่ายรูป ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ชื่อผลงาน “274 Color palette”
Technique
Hanging
Material
Artificial flowers
Design By Thornchaya Watanachai
Location : 274 – Bed And Brews
จุดที่ 5 COLORS
Concept
Color! What a deep and mysterious language, the language of dreams
– Paul Gauguin -
สี ช่างเป็นภาษาที่ลึกซึ้ง ลึกลับและยังเป็นภาษาแห่งความฝัน งานชิ้นนี้จึงนำการเล่นสีมาใช้กับต้นไม้ดอกไม้ เกิดเป็นต้นไม้สีใหม่ที่ไม่ได้มีในชีวิตจริง เป็นต้นไม้ในจินตนาการ เลือกใช้สีสันฉูดฉาดกับงานชิ้นนี้ เนื่องจากอยากเพิ่มสีสันของตลาดเก่าหัวตะเข้ให้มีชีวิตชีวา มีความสดใสเนื่องจากไวรัสโควิด 19 นั้นทำให้เราทุกคนเหี่ยวเฉากันไปมาก
Material
Artificial flowers
Spray paint colors
Design By Pannapat Yuti
Location : ร้านขายต้นไม้
จุดที่ 6 BE A MARIGOLD
Concept
ขณะที่ทางทีมงานกำลังเดินสำรวจพื้นที่ตลาดเก่าหัวตะเข้ เราได้สะดุดตากับร้านขายอุปกรณ์ตกปลาร้านนี้ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ชาวบ้านใช้ตกปลาเหล่านี้สะท้อนชีวิตของชุมชนที่ติดริมน้ำได้เป็นอย่างดี เป็นร้านที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน จึงนำอุปกรณ์เหล่านี้มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน และเป็นการเพิ่มความดึงดูดและความน่าสนใจของร้านขายอุปกร์ตกปลานี้ ให้ผู้ที่พบเห็น ผ่านไปมา อยากเข้ามารู้จัก และเรียนรู้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในร้านนี้มากยิ่งขึ้น
จึงเกิดเป็นผลงานที่มีชื่อว่า “Be a Marigold” ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจาก ไซดักปลาที่เป็นเครื่องมือในการจับปลาของชาวบ้าน หรือในแง่ด้านความเชื่อ ก็คือไซดักทรัพย์ ที่เป็นเครื่องรางที่คนไทยจำนวนมากเชื่อกันว่าจะช่วยในเรื่องของความร่ำรวย เงินทอง โชคลาภ ถือเป็นเรื่องมงคลต่อทางร้านด้วย และสามารถดึงดูดสายตาให้ผู้ที่พบเห็นอยากเข้ามาทำความรู้จักร้านมากยิ่งขึ้น และมีการนำดอกดาวเรืองที่คนไทยนิยมใช้กราบไว้ เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาประกอบกับผลงาน โดยการจัดวางดอกดาวเรืองลักษณะคล้ายกับฝูงปลาที่ว่ายวนเข้ามาติดกับไซดักปลา ดักทรัพย์นี้
Technique
Mixed media
Material
Fishnet
Marigold
Design By Sariya P.
Location : ร้านขายอุปกรณ์ตกปลา
จุดที่ 7 MISCELLANEOUS
OF SURFACE
Concept
At press ร้านกาแฟที่ตั้งขึ้นอยู่ในชุมชนตลาดหัวตะเข้ มองเผิน ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นแค่ร้านกาแฟธรรมดา ๆ แต่ภายในร้านนี้ได้รวบรวมสินค้า งานศิลปะ รวมถึงมีการจัดเวิร์คช็อปต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเทคนิคภาพพิมพ์เอาไว้ด้วย เราจึงดึงจุดเด่นอย่างงานภาพพิมพ์มาร่วมในการออกแบบ
โดยการนำลวดลายของพื้นผิวที่เกิดขึ้นโดยเทคนิค woodcut มาผสมผสานกับดอกไม้ที่มีรูปทรงที่หลากหลาย และสีสันสดใสเพื่อให้งานมีพื้นผิวที่หลากหลายเพิ่มความน่าสนใจ บนโครงสร้างแบบบานเฟี้ยมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากประตูบ้านในชุมชนหัวตะเข้ ภายใต้ชื่อผลงาน “ miscellaneous of surface ”
Technique
Woodcut
Material
Artificial flowers
Design By Thanapat Sudsanor
Location : ร้าน At Press
จุดที่ 8 FLOWER BUBBLE
Material
Old basket
Location : โรงระหัด
จุดที่ 9 FIFTY SHADES
OF PLANT
Concept
ในปัจจุบันปี 2020 ทั่วโลกมีการตื่นตัวและรณรงค์ให้นำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่หรือลดการใช้ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สตาร์บัคส์ประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษแทนหลอดพลาสติก แบรนด์เครื่องสำอางไฮเอนด์ออกผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใส่ตัวรีฟิล (refill) เราจึงอยากนำขยะพลาสติกอย่างบรรจุภัณฑ์ มาใช้และออกแบบใหม่ในหมวดหมู่ของแต่งบ้าน โดยใช้เทคนิคการพ่นสีแบบ gradient ลงบนบรรจุภัณฑ์ที่มีรูปทรงเฉพาะตัวและใบใม้บางชนิด เลือกใช้เฉพาะโทนสีเขียว สร้างเอกลักษณ์ให้กับรูปทรงใบไม้เพิ่มด้วยการเพนท์ลวดลาย ลงในพื้นผิว จะเห็นได้ว่าแม้เราจะมองไม่เห็นผิวสัมผัสที่ถูกเฉดสีทับแต่เราจะยังคงจำเอกลักษณ์ของสิ่งนั้นได้
Material
Plastic bottle
Design By Sirilada Tiwasanan
Location : โรงระหัด
จุดที่ 10 RAKDOK MARKET
Material
Old basket
Location : โรงระหัด
จุดที่ 11 ดอกรัก – รักดอก
Concept
หนึ่งในภูมิปัญญาหลักของชุมชนหัวตะเข้ตั้งแต่ครั้งสมัยอดีตคือ ‘ช่างไม้’ และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับไม้ จึงทำให้พื้นที่นี้เต็มไปด้วยโรงไม้หลากหลายแห่ง และหนึ่งในโรงไม้ขึ้นชื่อของที่นี้ก็คือ ‘โรงระหัด’ ซึ่งเป็นโรงไม้สำหรับสร้างระหัดวิดน้ำนาข้าว แต่พอกาลเวลาได้ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้น ทำให้โรงงานของช่างไม้ฝีมือดีต้องปิจกิจการลง โดยปัจจุบันก็เหลือโรงระหัดแห่งนี้ที่ยังคงดำรงอยู่ แต่ก็ได้ทำการปิดกิจการทางด้านงานไม้ลงแล้ว และกลายเป็นสถานที่หลักของการทำกิจกรรมต่างๆของผู้คนในชุมชนหัวตะเข้
จากประวัติที่มาของสถานที่ที่มีจุดเด่นอยู่ที่เครื่องมือโบราณอย่างเครื่องระหัดวิดน้ำ ทำให้ดึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของสถานที่นี้ มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานผ่านสายดอกรัก ดอกไม้ไทย ความหมายมงคล มาร้อยเรียงต่อกันเป็นม่านแขวน ผ่านสีสันสวยงาม สะดุดตา ซึ่งก็เปรียบเสมือนสายธาร และสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชนกับวิถีชีวิตริมน้ำนั่นเอง
Technique
Hanging
Material
Artificial flowers on spray paint colors (Calotropis Giantea)
Design By
Sariya P.
Rungnapha N.
Location : โรงระหัด
จุดที่ 12 HOW U REMIND ME ?
Concept
ฮาวยูรีไมน์มี (How you remind me?) หากคุณมาที่ชุมชนหัวตะเข้คุณจะนึกถึงอะไร? ในอดีต ภูมิปัญญาสำคัญของชุมชนตลาดหัวตะเข้คือ ช่างไม้ ทำให้มีโรงไม้ในตลาดจำนวนมากถึง 7-8 โรง เอาไว้ทำเรือ ซ่อมเรือ แต่เมื่อชาวบ้านลดการใช้เรือเป็นพาหนะในชีวิตประจำวัน โรงไม้จึงค่อย ๆ ปิดตัวลง จนกระทั่งเหลือโรงสุดท้าย เป็นโรงไม้สำหรับสร้างระหัดวิดน้ำนาข้าว ซึ่งไม่นานก็ปิดกิจการตามไปด้วย ผู้คนก็เริ่มหันไปใช้รถใช้ถนนมากขึ้น จนการเดินทางทางเรือไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป
เราจึงนำวัตถุที่ทำให้นึกถึงชุมชนหัวตะเข้อย่าง เรือ มาเป็นหลักในการออกแบบ โดยใช้ไม้ดอกอย่าง สแตติส (statice) ที่สวยงามคงรูปได้แม้ดอกจะแห้งไปและยังมีความหมายว่า ความรู้สึกดีๆที่คงอยู่ตลอดไป ใช้แทนสายน้ำ และผักตบชวา ที่พบเห็นได้ทั่วไปในคลองบริเวณชุมชนหัวตะเข้มาทำให้เกิดประโยชน์โดยนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มบรรยากาศความสดชื่นด้วยดอกไม้ไทยที่หาได้ง่ายทั่วไปหลากหลายชนิดอย่างกล้วยไม้หรือพุทธรักษา ถ้าทุกคนนึกถึงที่นี่แล้ว เราก็ไม่อยากให้พลาดเลยนะที่เข้าไปนั่งถ่ายรูปในเรือกับเจ้าถิ่น อย่างเจ้าแมวสองตัวบนเรือ
Material
Statice flowers
Old wooden boat
Design By
Sirilada Tiwasanan
Kanokbhorn Pupipaparb
Location : โรงระหัด
Photo Credit
Arty Photo
ศรีปราชญ์ ฉลาดดี