‘ดอกบานไม่รู้โรย’ เป็นพืชนําเข้าจากละตินอเมริกา สันนิษฐานว่าเริ่มทยอยมาตังแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเพราะพบชื่อในตํารายาพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยหลายตํารับ รวมถึงหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ยังได้บรรยายถึงไว้ว่า
“…บานมิรู้โรย เป็นดอกไม้อย่างหนึ่ง บานแล้วไม่โรย ไม่เหี่ยวเลย ดอกไม้อย่างอื่นบานแล้ว โรยเหี่ยวแห้งไป”
บานไม่รู้โรยเป็นพืชล้มลุกในสกุล Gomphrena นับญาติสนิทได้กับดอก หงอนไก่ดอกสร้อยไก่และผักโขม ด้วยลักษณะทางกายภาพของดอก ซึ่ง ท้าทายกาลเวลา ชื่อเรียกของภาษาถินไทยจึงออกแนวอยู่ยงคงกระพันทั้งสิ้น ไทยเหนืออู้กําเมืองบอก “ดอกสามเดือน” ไทยอีสานนานกว่านั้นว่า “ดอกสามปีบ่เหี่ยว” (เด้อ)
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่ามนุษย์ใช้ ‘ดอกบานไม่รู้โรย’ บริโภคกันมาอย่างช้านาน สําทับด้วยข้อมูลทางการแพทย์สมัยใหม่ยังจําแนกสรรพคุณออกเป็นส่วน ๆ เช่น ราก มีรสเย็นขื่น แก้โรคระบบทางเดินปัสาวะอักเสบ ขับระดู รักษาโรคบิดและอาการไอ
ต้น (ทั้งห้า) รสขื่นเล็กน้อย ต้มเอาน้ำดื่มแก้หนองใน กามโรค ขับปัสสาวะ นิว และแก้ระดูขาว
ช่อดอก รสจืด สุขุม ใช้กล่อมตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอ ขับปัสาวะ แก้บิดแก้ ปวดศีรษะ ฯลฯ
ตามตําราใช้แต่บานไม่รู้โรยดอกสีขาวเท่านั้น – สําคัญยิ่ง! ปัจจุบันดอกบานไม่รู้โรยยังแฝงนัยยะทางชื่อช่วยเสริมความแข็งแรง ด้านความรักให้ผลิบานไม่รู้โรย แลทําให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านมีความผูกพันต่อกันยาวนาน จึงพากันเชื่อว่าหากปลูกดอกบานไม่รู้โรยแล้ว จะทําให้รักนั้นยังยืนยาวนานแสนนาน
ประโยชน์อีกประการที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ นํามาตกแต่งร่วมงานพิธีต่าง ๆ เพราะนอกจากงดงาม และคงทนแล้ว ยังถือเป็นดอกไม้มงคลอีกด้วย หมายถึงความยั่งยืนนาน เรามักใช้ดอกร้อยอุบะมาลัย หรือจัดเป็นพานพุ่ม บูชาพระ ไหว้ครู เด็กนักเรียนในอดีตจะคุ้นเคยกับการจัดพานไหว้ครูด้วย ‘ดอกบานไม่รู้โรย’ กันเป็นอย่างดี
RakDok