Skip to content

Floral Inspiration Edutainment

RakDok (รักดอก)

คําฝอย


  • 1 กรกฎาคม 2020
  • 2316 Views
คําฝอย

    นาน ๆ ครั้งที่ความงดงามของตัวดอกไม้จะถูกตีคุณค่ารองลงไปเมื่อเทียบกับประโยชน์เอนกอนันต์ของพวกเขา ‘ดอกคําฝอย’ คงเป็นตัวอย่างซึ่งเห็นชัดอย่างยิ่งจากมุมนี้

    เพราะหากค้นคว้าหาคุณประโยชน์ของดอกคําฝอยกันอย่างจริง ๆ จัง ๆ เราก็พบว่าพืชล้มลุกจากวงศ์ทานตะวัน โดยมีถินกําเนิดบนดินแดนตะวันออกกลางอันเวิ้งว้างชนิดนี้จะมีคุณค่าทางยามากมายต่อมนุษย์ตั้งแต่หัวจรดเท้า จากภายในร่างกายจรดภายนอกมากมายนับร้อยประการ ส่วนใหญ่มีผลกับโลหิต หรือระบบไหลเวียนเลือด เนื่องจากสารสีแดงในดอกคําฝอยที่มีชื่อว่า ‘คาร์ธามิน – Carthamin’ กับ ‘ไอโซคาร์ธามิน – Isocarthamin’ คือเคมี ธรรมชาติช่วยลดความข้นหนืดของเลือด

    ‘โกฐกุสุมภ์’ คือชื่อเรียกยาชนิดหนึ่งจากพระคัมภีร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งก็คือ ‘ดอกคําฝอย’ นั่นเอง โดยพระคัมภีร์แพทย์นี้เผยแพร่สู่บ้านเราตั้งแต่ กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งมีต้นตอจากการอายุรเวทอินเดีย และว่ากันว่าหมอ ชีวกโกมารภัจจ์ซึ งเป นแพทย์ประจําพระพุทธองค์คือผู้แต่งคัมภีร์

   ใน ‘ตํานานเก็นจิ’ ของชาวญี่ปุ่น เล่าถึงดอกคําฝอยไว้อย่างลึกซึ้งว่า ‘สุเอทสึมุฮานะ’ ภรรยาสาวอีกคนหนึ่งของเก็นจิเธอเป็นหญิงสาวที่มีจมูกใหญ่สีแดง ประกอบกับบุคลิกทื่อ ๆ เหมือนชายมากกว่าหญิง หนําซ้ำยังมิรู้จักการแต่งเนื้อแต่งตัวประทินโฉมดังสตรีทั่วไป เก็นจิเศรษฐีจึงเก็บเธอไว้แค่ในก้นครัว จนกระทั่งวันหนึ่งภรรยาจมูกแดงเหมือนผ้าย้อมด้วยดอก ‘สุเอทสึมุฮานะ’ จะแก้ปัญหาครั้งใหญ่ของชีวิตแก่เขาได้

    เป็นคุณอันโอฬารซ่อนอยู่ในร่างผู้หญิงธรรมดา ๆ

    ชื่อ ‘สุเอทสึมุฮานะ’ นั้นมีสองความหมาย เพราะนอกจากจะเป็นชื่อหญิง จมูกแดงแล้ว ยังมีความหมายแฝงอีกอย่างว่า ‘ดอกไม้สีแดง’ ซึ่งตํานานนี้ หมายความถึง ‘ดอกคําฝอย’ นั่นเอง

    ‘ฮานะ’ คําญี่ปุ่นพ้องเสียงระหว่าง ดอกไม้ () กับ จมูก () ‘ดอกคําฝอย’ บ้านเราเป็นชื่อคําเมือง (ภาษาเหนือ) โดย ‘คํา’ แปลว่า ทอง (ทองคํา – เหมือน ‘คํา’ ของอีสาน) ส่วน ‘ฝอย’ ก็หมายถึงกลีบดอกย่อยเล็ก ๆ แลดูเหมือนดอกไม้ไฟเปล่งแสงสีเหลืองอร่ามกระจ่างบนท้องฟ้ายามราตรี

RakDok

Previous Posts


  • 30 มิถุนายน 2020
  • 4899 Views

ต้อยติ่ง

    คํานิยามสั้น ๆ เมื่อก่อนของ 'ดอกต้อยติ่ง' ก็เพียง - วัชพืชดอกสวย แต่ปัจจุบันดอกต้อยติ่

  • 29 มิถุนายน 2020
  • 22109 Views

พยับหมอก

    แค่เพียงเรื่องเล่าขานถึง 'ดอกพยับหมอก' คือดอกไม้ทรงโปรดในพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๙ ด

  • 28 มิถุนายน 2020
  • 20143 Views

ดอกเข็ม

    'ดอกเข็ม' มีชื่อตรงกันกับภาษาอังกฤษ 'Needle Flower' ตามความเชื่อดั่งเดิมของไทยโบราณมัก

  • 27 มิถุนายน 2020
  • 2149 Views

หญ้าแพรก

    'หญ้าแพรก' (Cynodon Dactylon) เป็นพืชพื้นเมืองจากแผ่นดินแอฟริกา เอเชียออสเตรเลีย และยุ

  • 26 มิถุนายน 2020
  • 4117 Views

ดอกมะเขือ

    ด้วยธรรมชาติของ 'ดอกมะเขือ' ซึ่งค้อมน้อมลงมองดิน เสมือนผู้อยู่ในอาการ เคารพนบนอบ คารวะ

Recent Posts


เที่ยวทิพย์! ทัวร์ออนไลน์ ‘เทศกาลดอกทิวลิป’ 2021 ประเทศเนเธอร์แลนด์

ภาพถ่ายดอกไม้จมน้ำ เบลอเส้นจำกัดระหว่างโลกความจริงและห้วงความฝัน

  • Art
  • Siri P.
  • 2404 Views

เมื่อความสดชื่นของดอกไม้ รังสรรค์มื้ออาหารให้น่าทานกว่าทุกครั้ง

  • Art
  • Siri P.
  • 2643 Views

ดอกไม้ไร้สมมาตร จากปลายพู่กัน ‘ราเชล รุสช์’ ศิลปินชาวดัตช์สู่ภาพวาดดอกไม้แหวกขนบศิลปะ

RakDok Playground : Ep. 4 มหัศจรรย์แดนมาลี (ถ่ายภาพเล่านิทาน ตอนที่ 2)

RakDok Playground : Ep. 3 Black Butterfly