Skip to content

Floral Inspiration Edutainment

RakDok (รักดอก)

ภาพดอกไม้ระยะใกล้ของ ‘จอร์เจีย โอคีฟ’ ที่ถูกตีความว่า ‘เย้ายวนเพศ’


  • 14 พฤษภาคม 2020
  • 6430 Views
ภาพดอกไม้ระยะใกล้ของ ‘จอร์เจีย โอคีฟ’ ที่ถูกตีความว่า ‘เย้ายวนเพศ’

Photo Credit : https://www.georgiaokeeffe.net/

    ดอกไม้ มักถูกเปรียบเปรยกับผู้หญิง ในมิติด้านรูปร่าง กลิ่น ไปจนถึงอารมณ์อยู่เสมอ เช่นเดียวกับภาพชุดดอกไม้ของ จอร์เจีย โอคีฟ (Georgia O’Keefe) ที่ถูกตีความว่า ยั่วยวนอารมณ์ทางเพศ

จอร์เจียโอคีฟ
Photo Credit : https://www.okeeffemuseum.org/

    จอร์เจีย โอคีฟ (1887-1986) คือศิลปินหญิงอเมริกันที่นับว่าเป็นตัวแม่ของยุคโมเดิร์นอาร์ต แห่งศตวรรษที่ 20 เธอเป็นที่จดจำท่ามกลางช่วงเวลาที่คนเอาแต่ยกยอศิลปินชาย เพราะผลงานของโอคีฟแปลกตาไปจากศิลปะอเมริกันช่วงนั้น ด้วยการถ่ายทอดผลงานที่ค่อนข้างนามธรรม และกึ่งนามธรรมผ่านเทคนิคสีน้ำมัน ซึ่งเต็มไปด้วยเสน่ห์ดึงดูดใครต่อใครให้หยุดมอง และลองตีความงานศิลปะของเธอ

Ram’s Head with Hollyhock (1935)
Photo Credit : https://www.georgiaokeeffe.net/

    ความโดดเด่นที่เรียกได้ว่าเป็นซิกเนเจอร์ของโอคีฟ คือการวาดภาพระยะใกล้ ซึ่งสามารถมองเห็นรายละเอียดของสิ่งที่ถูดวาดได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นภาพวิวทิวทัศน์ ซากกะโหลกสัตว์ ผลไม้ และท้องฟ้า

Flower of Life II (1925)
Photo Credit : https://www.georgiaokeeffe.net/
Black Iris III (1926)
Photo Credit : https://www.georgiaokeeffe.net/

    แต่ชุดภาพที่ได้รับการพูดถึงในวงการศิลปะ และทำให้โอคีฟมีชื่อเสียงโด่งดังคือภาพชุดดอกไม้เช่น ดอกไอริส ดอกลิลลี่ และดอกป๊อปปี้ ที่เธอวาดไว้ระหว่างปี .. 1910-1930 ซึ่งจุดเริ่มต้นนั้น มาจากความผูกพันที่โอคีฟมีต่อดอกไม้ ทั้งยังมองว่าเหล่าหมู่มวลดอกไม้คือสิ่งที่แสนละเอียดอ่อน ถึงขั้นเคยพูดว่า

    “ไม่มีใครสามารถมองเห็นดอกไม้ได้หรอก เพราะพวกมันเล็กจิ๋ว ต้องใช้เวลาค่อยๆ ซึมซับรายละเอียดอ่อนช้อยเหล่านั้น และบางครั้งแค่เราถือดอกไม้ และจ้องมองความสวยงาม นี่ก็คือโลกใบใหม่แล้ว

    โดยภาพดอกไม้ระยะใกล้ของโอคีฟ ถูกตีความไปถึงประเด็นเรื่องเพศ หลายต่อหลายภาพถูกวิจารณ์ว่าคือสัญลักษณ์อวัยะเพศหญิง ด้วยสีสัน ความโค้งเว้าของกลีบดอก ไปจนถึงการเกลี่ยน้ำหนักของภาพให้แลดูชุ่มช่ำหากแต่นุ่มนวล มองแล้วชวนกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ อย่างภาพ Black Iris III (1926) เป็นหนึ่งในภาพที่ถูกตีความว่าคืออวัยวะเพศหญิง ประกอบกับการที่โอคีฟเคยเป็นแบบเปลือยถ่ายภาพให้กับ อัลเฟรด สติกลิตซ์ (Alfred Stieglitz) ช่างภาพชาวอเมริกันผู้ซึ่งเป็นคนรักของเธอ ยิ่งทำให้การตีความภาพวาดดอกไม้ไปสู่เรื่องเพศเข้มข้นมากขึ้น

The White Flower (1932)
Photo Credit : https://www.georgiaokeeffe.net/

    อย่างไรก็ตาม โอคีฟออกมาปฏิเสธการตีความต่างๆ เกี่ยวกับผลงานชุดดอกไม้ เธอมองว่าการนำเสนองานศิลปะของเธอ ไม่ได้มีความหมายแฝงไปมากกว่าความประทับใจในดอกไม้ และการได้รับแรงบันดาลใจสรรสร้างงานศิลป์จากเหล่าธรรมชาติ หลังจากนั้นโอคีฟจึงเริ่มวาดภาพดอกไม้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เปลือยรูปร่างของดอกไม้มากกว่าเดิม เก็บซ่อนความพลิ้วไหวเล็กน้อย เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้วาดดอกไม้เพื่อยั่วอารมณ์ทางเพศใครทั้งสิ้น

    แล้วทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ เวลามองเหล่าดอกไม้ หรือใช้สายตาไล้ผ่านรูปวาดดอกไม้ คุณมองเห็นอะไร กำลังมองดอกไม้ หรือกำลังมองสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในนั้น ?

Siri P.
FYI

อ้างอิง :
- https://www.okeeffemuseum.org/about-georgia-okeeffe/

- https://collections.okeeffemuseum.org/object/#subquery=gok

- https://en.wikipedia.org/wiki/Alfred_Stieglitz

- ศรัณยา พิชรานันท์.//(2559).//สัญลักษณ์ทางเพศในผลงานจิตกรรมของ จอร์เจีย โอคีฟ.//(ออนไลน์)

Previous Posts


  • 7 พฤษภาคม 2020
  • 4306 Views

เบื้องหลัง ‘Flowers’ ภาพดอกไม้สุดป๊อปของ Andy Warhol จากงานก็อปสู่ภาพจำ

    แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol ) เจ้าพ่อแห่งวงการป๊อปอาร์ตท

Recent Posts


เที่ยวทิพย์! ทัวร์ออนไลน์ ‘เทศกาลดอกทิวลิป’ 2021 ประเทศเนเธอร์แลนด์

ภาพถ่ายดอกไม้จมน้ำ เบลอเส้นจำกัดระหว่างโลกความจริงและห้วงความฝัน

  • Art
  • Siri P.
  • 2372 Views

เมื่อความสดชื่นของดอกไม้ รังสรรค์มื้ออาหารให้น่าทานกว่าทุกครั้ง

  • Art
  • Siri P.
  • 2611 Views

ดอกไม้ไร้สมมาตร จากปลายพู่กัน ‘ราเชล รุสช์’ ศิลปินชาวดัตช์สู่ภาพวาดดอกไม้แหวกขนบศิลปะ

RakDok Playground : Ep. 4 มหัศจรรย์แดนมาลี (ถ่ายภาพเล่านิทาน ตอนที่ 2)

RakDok Playground : Ep. 3 Black Butterfly