หงอนนาค

"...หงอนนาคสีม่วงครามฝ่าแดดงามกระทั่งเที่ยง ต้นตรงไม่เอนเอียง หรือเฉเฉียง อวดสีใส งอกเกิดใหม่ทุกปี แทบทุกที่ยอดภูไทย ปีหน้าวันฟ้าใหม่พบกันได้ไปประจำ"
Meaning
'ดอกหงอนนาค' คือกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุกข้ามปี มีหัว (หรือเหง้า) อยู่ใต้ดิน หน้าแล้งจะแห้งเฉาเสมือนตายไป แต่เมื่อถึงฤดูฝน น้ำจาก ฟากฟ้าหยาดรดลงมาเขาก็เริ่มแตกหน่อ (ใหม่) งอกต้นชูดอกสีม่วงครามบานสะพรั่ง ต้อนรับแดดเช้าจนเลยเที่ยงวันจึงหุบกลีบดอกหรุบลง รอเวลาอวด ความสวยงามอีกครั้งในแสงอาทิตย์รุ่งขึ้น
History
หรือที่รีสอร์ทเอกชน จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าดังนั้นก็อีกแห่ง ด้วยความที่ 'ดอกหงอนนาค' เป็นพืชวงศ์เดียวกับผักปลาบ (Commelinaceae) จึงมีมากกว่ารูปสวยคือรับประทาน (ทั้งต้น) ได้ด้วย มีฤทธิทางยา คือช่วยเจริญอาหาร และเป็นยาระบายอ่อนๆ (ถ้ากินน้อยๆ) ลวกจิ้ม น้ำพริกก็เหมาะ หรือใส่ในแกงส้มก็ยิ่งเฉียบ เพราะดอกหงอนนาคเป็นพืชอวบ น้ำ หมายความว่าดูดนาแกงเข้าไปไว้เต็มๆ ในต้น ขึ้นต้นด้วยความสวยงาม แต่กลับลงท้ายด้วยความตะกละ
Anecdote
กลีบดอกสามกลีบอันบอบบางของ 'ดอกหงอนนาค' เท่าที่เห็นในไทยมี อยู่สามสี สามสายพันธุ์ย่อย มีสีขาว สีม่วงคราม (ม่วงเจือน้ำเงิน) และสุดท้าย คือ ‘สีชมพู’ ซึ่งเป็นสีซึ่งพบเจอได้ยากเย็นที่สุด และก็ด้วยกลีบดอกสามกลีบ นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ ‘หงอนนาค’ หรือ ‘หงอนพญานาค’ แถมเจ้ากระเปาะ ใต้กลีบดอกยังขยันรองน้ำค้างเช้าไว้ได้จรดถึงเที่ยง จึงมีนามลำลองไพเราะ เพราะพริ้งอีกชื่อหนึ่ง - 'น้ำค้างกลางเที่ยง' บ่ายสองก็ยังบานอยู่หากแดดไม่แรงนัก