Skip to content

Floral Inspiration Edutainment

RakDok (รักดอก)

บานไม่รู้โรย


  • 2 กรกฎาคม 2020
  • 3439 Views
บานไม่รู้โรย

    ‘ดอกบานไม่รู้โรย’ เป็นพืชนําเข้าจากละตินอเมริกา สันนิษฐานว่าเริ่มทยอยมาตังแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเพราะพบชื่อในตํารายาพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยหลายตํารับ รวมถึงหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ยังได้บรรยายถึงไว้ว่า

“…บานมิรู้โรย เป็นดอกไม้อย่างหนึ่ง บานแล้วไม่โรย ไม่เหี่ยวเลย ดอกไม้อย่างอื่นบานแล้ว โรยเหี่ยวแห้งไป”

    บานไม่รู้โรยเป็นพืชล้มลุกในสกุล Gomphrena นับญาติสนิทได้กับดอก หงอนไก่ดอกสร้อยไก่และผักโขม ด้วยลักษณะทางกายภาพของดอก ซึ่ง ท้าทายกาลเวลา ชื่อเรียกของภาษาถินไทยจึงออกแนวอยู่ยงคงกระพันทั้งสิ้น ไทยเหนืออู้กําเมืองบอก “ดอกสามเดือน” ไทยอีสานนานกว่านั้นว่า “ดอกสามปีบ่เหี่ยว” (เด้อ)

    มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่ามนุษย์ใช้ ‘ดอกบานไม่รู้โรย’ บริโภคกันมาอย่างช้านาน สําทับด้วยข้อมูลทางการแพทย์สมัยใหม่ยังจําแนกสรรพคุณออกเป็นส่วน ๆ เช่น ราก มีรสเย็นขื่น แก้โรคระบบทางเดินปัสาวะอักเสบ ขับระดู รักษาโรคบิดและอาการไอ

    ต้น (ทั้งห้า) รสขื่นเล็กน้อย ต้มเอาน้ำดื่มแก้หนองใน กามโรค ขับปัสสาวะ นิว และแก้ระดูขาว

    ช่อดอก รสจืด สุขุม ใช้กล่อมตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอ ขับปัสาวะ แก้บิดแก้ ปวดศีรษะ ฯลฯ

    ตามตําราใช้แต่บานไม่รู้โรยดอกสีขาวเท่านั้น – สําคัญยิ่ง! ปัจจุบันดอกบานไม่รู้โรยยังแฝงนัยยะทางชื่อช่วยเสริมความแข็งแรง ด้านความรักให้ผลิบานไม่รู้โรย แลทําให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านมีความผูกพันต่อกันยาวนาน จึงพากันเชื่อว่าหากปลูกดอกบานไม่รู้โรยแล้ว จะทําให้รักนั้นยังยืนยาวนานแสนนาน

    ประโยชน์อีกประการที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ นํามาตกแต่งร่วมงานพิธีต่าง ๆ เพราะนอกจากงดงาม และคงทนแล้ว ยังถือเป็นดอกไม้มงคลอีกด้วย หมายถึงความยั่งยืนนาน เรามักใช้ดอกร้อยอุบะมาลัย หรือจัดเป็นพานพุ่ม บูชาพระ ไหว้ครู เด็กนักเรียนในอดีตจะคุ้นเคยกับการจัดพานไหว้ครูด้วย ‘ดอกบานไม่รู้โรย’ กันเป็นอย่างดี

RakDok

Previous Posts


  • 1 กรกฎาคม 2020
  • 2315 Views

คําฝอย

    นาน ๆ ครั้งที่ความงดงามของตัวดอกไม้จะถูกตีคุณค่ารองลงไปเมื่อเทียบกับประโยชน์เอนกอนันต์

  • 30 มิถุนายน 2020
  • 4898 Views

ต้อยติ่ง

    คํานิยามสั้น ๆ เมื่อก่อนของ 'ดอกต้อยติ่ง' ก็เพียง - วัชพืชดอกสวย แต่ปัจจุบันดอกต้อยติ่

  • 29 มิถุนายน 2020
  • 22109 Views

พยับหมอก

    แค่เพียงเรื่องเล่าขานถึง 'ดอกพยับหมอก' คือดอกไม้ทรงโปรดในพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๙ ด

  • 28 มิถุนายน 2020
  • 20143 Views

ดอกเข็ม

    'ดอกเข็ม' มีชื่อตรงกันกับภาษาอังกฤษ 'Needle Flower' ตามความเชื่อดั่งเดิมของไทยโบราณมัก

  • 27 มิถุนายน 2020
  • 2149 Views

หญ้าแพรก

    'หญ้าแพรก' (Cynodon Dactylon) เป็นพืชพื้นเมืองจากแผ่นดินแอฟริกา เอเชียออสเตรเลีย และยุ

Recent Posts


เที่ยวทิพย์! ทัวร์ออนไลน์ ‘เทศกาลดอกทิวลิป’ 2021 ประเทศเนเธอร์แลนด์

ภาพถ่ายดอกไม้จมน้ำ เบลอเส้นจำกัดระหว่างโลกความจริงและห้วงความฝัน

  • Art
  • Siri P.
  • 2404 Views

เมื่อความสดชื่นของดอกไม้ รังสรรค์มื้ออาหารให้น่าทานกว่าทุกครั้ง

  • Art
  • Siri P.
  • 2642 Views

ดอกไม้ไร้สมมาตร จากปลายพู่กัน ‘ราเชล รุสช์’ ศิลปินชาวดัตช์สู่ภาพวาดดอกไม้แหวกขนบศิลปะ

RakDok Playground : Ep. 4 มหัศจรรย์แดนมาลี (ถ่ายภาพเล่านิทาน ตอนที่ 2)

RakDok Playground : Ep. 3 Black Butterfly