‘หญ้าแพรก’ (Cynodon Dactylon) เป็นพืชพื้นเมืองจากแผ่นดินแอฟริกา เอเชียออสเตรเลีย และยุโรปใต้ส่วนอีกชื่อเรียกซึ่งนักกอล์ฟคุ้นเคยกันดี ‘หญ้าเบอร์ มิวดา’ นั้น มาจากหญ้าแพรกนั้นเคยเป็นพืชต่างถิ่น (Alien Species) ขนิดรุกรานใน แถบเบอร์มิวดา ซึ่งต่อมากลับสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่ความจริงไม่ได้เกิดขึ้น ที่นั่น
ชาวไทยเหนือ – อีสานเรียกขานหญ้าชนิดนี้ว่า ‘หญ้าเป็ด’ ชาวกะเหรี่ยงเรียก ‘ หนอเก่เค’ ซึ่งก็หมายรวมถึงหญ้าแพรกนั่นเอง หญ้าแพรกเป็นพืชเจริญเติบโต รวดเร็ว อีกทั้งทนต่อการเหยียบย่ำและทําลาย สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ช่วยรักษาความชุ่มชื้นบนผิวหน้าดินเป็นอย่างดี
ในส่วนของดอก ‘ดอกหญ้าแพรก’ ออกช่อกระจะ ในหนึ่งช่อมีดอกย่อยประมาณสามสี่ช่อย่อย ดอกย่อยเป็นเส้นสีเขียวเทาถึงสีม่วง อัดกันแน่นบนด้านหนึ่งของก้านดอกย่อย ปลายเป็นฝอยลักษณะคล้ายขนนก ออกดอกตลอดปี
ในยุคพุทธกาลมีบันทึกเหตุการณ์ถึง ‘หญ้าแพรก’ ไว้ช่วงหนึ่ง “…พระสิทธัตถะได้ทรงพระสุบินก่อนจะสําเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณคํารบสองว่า ต้นหญ้าแพรกต้นหนึ่งได้ขึ้นแต่พื้นพระนาภี และเจริญสูงขึ้นไปจนจดคัดนาดลนภากาศ ซึ่งทํานาย ว่าการที่หญ้าแพรกงอกจากพระนาภีสูงไปจดอากาศนั้น เป็นบรรพนิมิตที่ได้ตรัส เทศนาพระอริยมรรคมีองค์ ๘ แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งปวง”
แม้ ‘ดอกหญ้าแพรก’ จะเป็นเพียงวัชพืชซึ่งคนส่วนใหญ่มองข้าม อีกทั้งยังสร้างความเดือดร้อนรําคาญแก่เหล่าเกษตรกร แต่หญ้าแพรกกลับมีสรรพคุณทางยา และประโยชน์ด้านอื่นเหลือคณา อาทิช่วยรักษาโรคเบาหวาน, ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย, ลดไข้, แก้หวัด, ลดเสมหะ, บรรเทาอาการคัดจมูก, แก้ร้อนใน กระหายน้ำ, ขับลม, รักษาโรคริดสีดวงทวาร, เสริมสร้างเม็ดเลือดแดงให้ร่างกาย, เพิมประสิทธิภาพการทํางานของหลอดเลือดหัวใจ, รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด, ช่วยย่อยอาหาร และลดกรดเกินในกระเพาะ ฯลฯ
‘ดอกหญ้าแพรก’ คือ สัญลักษณ์แห่งความเจริญงอกงาม และความอดทน เพราะแม้อยู่บนพื้นที่แห้งแล้งเพียงใด หรือโดนเหยียบย่ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ ‘ดอกหญ้าแพรก’ ก็จะไม่ล้มตายจากไปง่าย ๆ และหากมีโอกาสรับน้ำอย่างเหมาะสมเมื่อใด พวกเขาก็กลับเจริญงอกงามฟื้นขึ้นอีกครั้งเสมอ เฉกเช่นเดียวกับศิษย์ซึ่งเมื่อได้รับคําอบรมสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ก็จะรับรู้และนําไปปฏิบัติจนเกิดผลดีต่อตนเอง และสังคม ดังนั้นคนโบราณจึงถือเคล็ดว่า ถ้าใช้ ‘ดอกหญ้าแพรก’ ไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของศิษย์จะเจริญงอกงามเหมือนเหล่าหญ้าแพรกนั่นเอง
RakDok