นานมาแล้ว ณ หมู่บ้านห่างไกลแห่งหนึ่งบนเกาะญี่ปุ่นมีหญิงนาม ‘ขิกุโนะ’ กําลังตกอยู่ในห้วงแห่งทุกข์เหตุเพราะสามีอันเป็นที่รักเกิดล้มป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุจนอาการย่ำแย่ลงทุกวัน เธอทําได้แค่เพียงพยาบาลตามมีตามเกิด ด้วยยามนั้นไร้ซึ่งหมอ หรือแม้ยากลางบ้าน
จนเมื่อหมดหนทางเธอจึงออกเดินเท้ามุ่งสู่ศาลเจ้าตีนหุบเขานั่งลงภาวนาบนบานให้สามีหายจากอาการเจ็บป่วย เสร็จสรรพจึงหันหน้ากลับบ้าน หุงหาอาหาร ปรนนิบัติเช็ดตัวชายที่รัก แล้วก็ผลอยหลับไปในที่สุด
กลางดึกขิกุโนะรู้สึกเหมือนครึ่งตื่นครึ่งฝันเธอเห็นเทพเจ้าเดินเข้ามาในกระท่อม แล้วเอ่ยบอก “เจ้าจงออกแสวงหาดอกไม้มาสัการะศาลข้า ดอกไม้นั้นมีกลีบจํานวนเท่าไร ข้าก็จะต่ออายุสามีเจ้าออกไปให้เท่านั้น”
เธอสะดุ้งตื่นขึ้นเมื่อเกือบรุ่งสาง ภาพจําในฝันชัดเจนเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นตรงหน้า ขิกุโนะรีบอุ่นข้าวปลาป้อนสามีจนอิ่ม ก่อนผลุนผลันออกจากบ้านไป ตั้งแต่น้ำค้างยังไม่เหือดจากใบไม้
เช้ายันสาย บ่ายยันเที ยง ภรรยาผู้ภักดีเสาะหาดอกไม้ได้หลากหลาย ชนิดเต็มตะกร้าสะพายหลัง แต่เธอก็ยังไม่พอใจเพราะกลีบดอกนั้นดูจะน้อย เกินกว่ากว่าที่หวัง จนตะวันคล้อยเธอจึงเร่งฝีเท้ากลับที่พักพบภาพสามีนอนหายใจรวยริน จนต้องเบือนหน้าปาดน้ำตา ขิกุโนะเพียรเลือกดอกไม้ซึ่งมีกลีบ ดอกมากที่สุดมาหนึ่งดอก ก่อนใช้มีดคมกริบกรีดกลีบดอกเป็นฝอยเล็ก ๆ จนดูฟูฟ่องนับไม่ถ้วน เสร็จสรรพจึงเดินฝ่าความมืดตรงไปยังศาลเจ้า
เธอวางดอกไม้นั้นสักการะศาลด้วยน้ำตานองหน้าเพราะรู้สึกผิดในใจ กับการกระทําอันไม่ซื่อของเธอต่อสิงศักดิ์สิทธิ์เพียงแค่ทั้งมวลล้วนเริ่มต้นมาจากความรักของเธอต่อสามี
รุ่งเช้าก่อนเสียงไก่ป่าขัน ผู้เป็นสามีมาเขย่าแขนเบา ๆ จนเธอตกใจตื่น ลืมตาเห็นใบหน้าอันอิ่มเอิบด้วยเลือดฝาดของสามีนัยน์ตาที่เคยเหือดแห้ง ของเขากลับส่งแววประกายสดใส ทั้งคู่จ้องมองกันอย่างตกตะลึง และเนินนาน ก่อนสวมกอดกันอย่างมีความสุข และครองรักตราบชั่วอายุขัย
ในเวลาต่อมา ดอกไม้ของนางขิกุโนะซึ่งทําขึ้นเพื่อบนบานต่อเทพเจ้าอวตารกลายเป็น ‘ดอกเบญจมาศ’ หรือ’ขิกุ’ (菊) ในภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีความหมาย หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งอายุยั่งยืนนาน และความงดงามอันนิรันดร์
RakDok