คํานิยามสั้น ๆ เมื่อก่อนของ ‘ดอกต้อยติ่ง’ ก็เพียง – วัชพืชดอกสวย แต่ปัจจุบันดอกต้อยติ่งมิได้เป็นแค่วัชพืชไร้ค่าริมถนน ที่เคยมอบความสนุกสนานตื่นตาตื่นใจแก่เหล่าเด็กน้อยเท่านั้น เพราะบรรดากูรูด้านสมุนไพรไทย ต่างยกให้’ดอกต้อยติ่ง’ คือ ‘ยอดสมุนไพร’ ซึ่งมีคุณาประโยชน์มากมาย
ต้อยติ่งที่เห็นขึ้นอยู่ทั่วเมืองไทยวันนี้เป็นต้อยติ่งซึ่งมีกําเนิดจากทวีปอเมริกา (เขตร้อน) ส่วนต้อยติ่งพันธุ์พื้นบ้านดั้งเดิมซึ่งลําต้นสูงกว่า และเติบโตในที่ชื้นแฉะ ตามทุ่งนานั้น อย่างเช่นคําอธิบาย ‘อักขราภิธานศรับท์’ ฉบับหมอปรัดเล พ.ศ. ๒๔๑๖ (กว่า ๑๔๗ ป มาแล้ว) ‘ต้อยติ่ง เป็นชื่อต้นไม้เล็ก ๆ มักขึ้นตามริมบ้าน ที่ทุ่งนาบ้าง ใบมันเป็นขน มีลูกเป็นหนาม’ นั้นยากเย็นเหลือเกินที่จะพบเจอ ณ ปัจจุบัน
ต่อมาหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๑๖ บอกราย ละเอียดถึงต้อยติ่งไว้ทั้งสองพันธุ์คือ ต้อยติ่งพื้นบ้านไทย มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Hygrophila guadrivalvis Nees. อยู่ในวงศ์ Acanthaceae ชอบขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะ เช่น ทุ่งนา เป็นพืชล้มลุก พุ่มต้นสูง ๖๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร ดอกสีม่วงสลับขาว ออก เป็นกระจุก มีใบรองดอกเล็ก ๆ ผลเป็นฝักทรงกระบอก สีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่ เมื่อแก่จัดหรือถูกน้ำจะแตกเป็น ๒ ซีกตามยาว เมล็ดกลมแบน ถูกน้ำจะพองและเหนียว เป็นเมือก โบราณใช้ใบตําพอกรักษาแผล ฝี หนอง
ส่วนต้อยติงอีกชนิด คือ Ruellia tuberosa Linn. อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน ขึ้นทั่วไปตามที่ต่าง ๆ เป็นวัชพืชซึ่งรู้จักกันแพร่หลายกว่าชนิดแรก ต้นคล้ายคลึงกัน แต่สูงเพียง ๓๐ เซนติเมตร ดอกใหญ่กว่า แต่บานไม่พร้อมกัน มักบานทีละดอกสองดอก ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม ถูกน้ำจะแตก เมล็ดเหมือนชนิดแรก สมัยก่อนชาวบ้านใช้พอกแผล ฝี หนอง
(ญ) ต้อยติงเอ๋ย เจ้าไม่เคยละเลยแผ่นดิน
มีดอกสีม่วงโสภิณ ระเรี่ยดินอยู่ทุกเวลา
เมล็ดใช้ฟอกดูดฝี ช่วยชีวิตคนจนมานานหนักหนา
ให้พี่ทับดอกหญ้า สู่พสุธาอยู่ทุกนาที
(ช) หากต้อยติ่งเป็นหญิง คงมีใจจริงในความรักภักดี
หญิงทั่วไปหากเป็นเช่นนี้ ชายจะไม่มีความช้ำใจ
ความสุขก็จะถาวร สุขนิรันดรคู่ฟ้าดินไป
โอ้ต้อยติ่งขวัญใจ เจ้าจะจากไป พี่เหลืออาลัยแล้วเอย
‘กนกวรรณ ด่านอุดม’ และ ‘กําธร สุวรรณปยะศิริ’ ครูบาอาจารย์แห่งแวดวงสื่อมวลชนไทย ได้ประพันธ์และขับร้องเอาไว้อย่างซาบซึ้งถึง – ดอกต้อยติ่ง
RakDok