ดอกรัก
History
ดอกรักเป็นพืชเกิดเติบโตในเขตร้อน เราจึงพบเห็นทั่วไปตั้งแต่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา อินเดีย จรดทางตอนใต้ของจีนก็ มีปรากฏเห็น ในบ้านเรามักเห็นได้ง่ายตามหัวไร่ปลายนา เพราะเป็นพืชทน แล้งและชอบแดดจัด
บางตำราไสยศาสตร์อ้างว่า รากแก่ของต้นดอกรัก คนนิยมขุดมาแกะ สลักเป็นรูปเด็กน้อยไว้ผมจุก ยืนประนมมือระหว่างอก แล้วเรียกขานชื่อว่า ' รัก' คู่กับ (เด็ก) อีกคน (หรือตน) ซึ่งกำเนิดจาก 'ต้นมะยม' กลายเป็น 'รัก - ยม ' ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เจ้า 'รัก' เขามาจากต้นรักป่า (เนื้อไม้สีแดง) และเจ้า ' ยม' ก็มาจากต้นยม (เนื้อไม้สีเหลือง) ซึ่งคือไม้ยืนต้นเนื้อแกร่งทั้งคู่
แต่ใช่ว่าต้นดอกรักจะไร้อิทธิปาฏิหาริย์ด้านนี่เสียเลย เพราะยามต้น ดอกรักเกิดมี ‘กาฝาก’ นั่นแหละ จะมีผู้ขมังเวทนำ (ไม้กาฝาก) ไปสลักขึ้นรูป ( ส่วนใหญ่ทำรูปนก) และปลุกเสกร่วมกับสีผึ้ง (ขี้ผึ้ง) ก่อนผนึกลงอับหรือตลับ โดยเชื่อว่ามี 'ไสยคุณ' ดลใจคนที่เราหมายปองหันมามองเราบ้าง เพียงใช้สีผึ้ง เสกป้ายริมฝีปากทุกครั้งก่อนสนทนาโดยตรงกับหนุ่มหรือสาวคนนั้น
สิ่งนั้นคือ 'กาฝากรัก'
Anecdote
รูปพรรณสัณฐานของ 'ดอกรัก' นั่นนับเป็นประติมากรรมชิ้นเอกจาก ฝีมือธรรมชาติโดยแท้ ช่างสรรค์สร้างสลักเสลาราวงานหัวเสาของมหาวิหาร แห่งโรม บางคนก็จินตนาการเหมือนมงกุฎของกษัตริย์ในเทพนิยาย และด้วย ผิวสัมผัสอันเรียบเนียนและเย็นเยียบดุจหินอ่อน 'ดอกรักสีม่วง' จึงเสมือน ตัวแทนของความรักที่เฝ้าอดทนรออย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย
แต่คำอุปมาอุปไมยของไทยที่ว่า 'สิ่งใดมีคุณอนันต์ ย่อมมีโทษมหันต์' อาจเป็นคำจำกัดความที่เหมาะสมจริงๆ ของดอกรัก เพราะบนความงดงามดั่ง สวรรค์สร้าง ทั้งองคาพยพของต้นรักกลับล้วนเจือด้วยพิษ ไล่ลำดับความร้าย แรงกันลงไป
ปัจจุบันมีข้อมูลซึ่งเผยแพร่โดยทั่วไป โดยมากจะผสมปนเปกันจนสับสน ระหว่าง 'ต้นรัก' กับ 'ต้นรักป่า' เพราะดอกรักที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่ เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงลำต้นไม่เกินสองเมตรจากวงศ์ Apocynaceae ส่วนรักป่า คือไม้ยืนต้นสูงถึง 15 - 20 เมตร อยู่ในวงศ์ Anacardiaceae นับเป็นญาติ ( สนิท) กับมะม่วงทุกตระกูลนั่นเอง