No posts were found!
นิยามสรรพคุณทางยาของ ‘จําปี’ คือ ดอกมีรสขมเย็น กลิ่นหอม ปรุงเป็นยาแก้ไข้แก้ลม บํารุงหัวใจ ตามตําราแพทย์แผนโบราณแห่งสํานักวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ระบุไว้โดยดอกจําปีมีชื่อวิทยาศาสตร์ ‘Mi-chelia alba DC.’ อยู่ในวงศ์ ‘Magnoliaceae’ เช่นเดียวกับ ‘จําปา’ และนักพฤษศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าถิ่นกําเนิดดั้งเดิมของจําปีนั้นอยู่ในแถบอุษาคเนย์เรานี่ เอง
จําปีมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่อายุยืนประมาณ 10 – 15 ปี ใบยาว 20 – 25 เซนติเมตร หนา สีออกเขียวเข้ม ใบมนรีปลายแหลม ริมใบเกลี้ยง ดอกเรียวยาว กลีบดอกแบน ปลายแหลม ออกดอกตามโคนก้านใบที่อยู่บริเวณยอดของลําต้น ใบละดอก เมื่อดอกจําปียังเล็กอยู่นั้นกลีบดอกมีสีเขียวและจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นขาวถึงเหลืองอ่อน ดอกจะบานตอนหัวค่ำถึงราวสามทุ่ม มีกลิ่นหอมเมื่อใกล้บานและเริ่มหอมแรงในเวลาเย็นจนกว่าจะโรย จําปี เริ่มให้ดอกเมื่อต้นมีอายุ 1 ปี ถึงปีครึ่ง ช่วงที่ให้ดอกมากที่สุดตั้งแต่ 3 – 5 ปี โดยจะให้ดอกเฉลี่ย 50 -70 ดอกต่อต้น
คนไทยคุ้นเคยกับดอกจําปีมาเนิ่นนานตั้งแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ดังมีปรากฏชื่อ ‘จําปี’ จากวรรณคดีสยามหลายๆ เรื่อง อาทิ อิเหนา (พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๒) ลิลิตตะเลงพ่าย (พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) และเห่พระอภัยมณี (พระสุนทรโวหาร – ภู่) จวบจนปัจจุบันคนไทยยังนิยมปลูกในอาณาเขตบ้านมากเป็นอันดับต้นๆ ของไม้ดอกยืนต้น แม้ทุกวันนี้ต้นจําปีจะมีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบกับไม้ชนิดอื่นๆ
เมื่อก่อนมักพบเห็นสตรีผูก (ก้าน) ดอกจําปีกับเส้นผม ปล่อยห้อยคลอเคลียอยู่ข้างใบหูให้ส่งกลินหอมจรุงทั้งวัน ไม่ต่างกับบรรดาชายแนวๆ ก็นิยมเอาดอกจําปีมาทัดข้างหูช่างดูเป็นความเท่อย่างคลาสสิคพอตัว หรือแม้กระทั่งเคยยึดถือกันเป็นนิยามแห่งความงามของสรีระหน้าอกสาวๆ ได้อีก โดยว่ากันว่า “นมดีทัดจําปีไม่หล่น” หมายถึง หน้าอกหน้าใจสองข้างอันงามล้นสมัยนั้นต้องเบียดชิดกันจนสามารถวางดอกจําปีค้างตรงร่องอกได้ไม่ร่วงหล่นลงพื้นไป
‘ดอกจําปี’ คือดอกไม้มงคลของผู้เกิดวันจันทร์รวมถึงชาวราศีสิงห์ซึ่งเชื่อกันต่อหากได้นําจําปีมาปลูกในบริเวณรั้วบ้านจะส่งผลชีวิตการงานเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า และยังนิยมเก็บดอกจําปีถวายพระ เพราะถือว่าดอกนั้นงดงามอ่อนน้อม อย่างบริสุทธิ์ราวพุทธคุณ
RakDok