พิกุล
Meaning
สมัยนี้จะมีสักกี่คนรู้ถึงความหมายของประโยคข้างบน หรือเอาเข้าจริงๆ เมื่อถามว่า 'ดอกพิกุล' มีลักษณะอย่างไร อาจมี (หลาย) คนถึงกับต้องเปิดหา ในวิกิพีเดีย จึงจะพบว่า '...พิกุล คือ ไม้ยืนต้น มีดอกหอม สีขาว ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ แก้ว, ซางดง (ภาคเหนือ) ตันหยง (ภาคใต้)
History
พิกุลเป็นพันธุ์ไม้ซึ่งพบเห็นได้ทั่วประเทศ 'ดอกพิกุล' จึงถูกใช้แทน สัญลักษณ์ของสถานที่ต่างๆ มากมาย เช่น ดอกไม้ประจำ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดยะลา และจังหวัดลพบุรี และยังใช้เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนชื่อดังอีกหลายแห่งทั่วไทย
Culture
พิกุลนั้นเมื่อยามออกดอกบานสะพรั่งทั้งต้น จะส่งกลิ่นหอมตลบอบอวล ไปทั่ว แต่ด้วยอายุแสนสั้นเพียงวันเดียว หลังจากนั้นจะพากันร่วงโรยลงเต็ม ลานใต้พื้นต้น กวีสมัยก่อนจึงนำมาเปรียบกับความไม่จีรังยั่งยืน ในรูปแบบ ของนิทานร้อยกรองซึ่งปรากฏบนสมุดไทยแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง 'นางพิกุลทอง' นั่นเอง
Anecdote
ส่วนต้นพิกุลเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลพบุรี และ เขตมีนบุรี (กรุงเทพมหานคร)
Basic Facts
ด้วยลักษณะของดอกเกร็ดเล็กๆ สีขาว เมื่อแก่จึงจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง แลดูคล้ายสีทอง คนไทยจึงเชื่อว่าเป็นดอกไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ และ ศิริมงคล โดยมีหลายคน (ชาวบ้าน) เชื่อว่าการนำดอกพิกุลติดชายพกหรือใส่ ผอบไว้กับตัวขณะเดินทางไกล จะช่วยให้แคล้วคลาดจากภยันตราย และมีแต่ สิ่งดีในชีวิต
หรือแม้ในงานพระราชพิธี (ชาววัง) เช่น งานพระบรมราชาภิเษกที่ผ่านมา เราจะเห็นในหลวงท่านทรงโปรย ‘ดอกพิกุลทอง – ดอกพิกุลเงิน’ พระราชทานแด่พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ทรงลาดพระแท่นราชบรรจถรณ์ถวาย ภายใต้นัยยะสำคัญอันหมายถึง ‘ความเจริญ – มั่นคง’